Welcome

วันอาทิตย์ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2556


 

     สรุปบทความ  



ทำอาหาร: กิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะทางวิทยาศาสตร์ในเด็กปฐมวัย

           การประกอบอาหารเป็นกิจกรรมหนึ่งที่จะช่วยส่งเสริมทักษะวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยเป็นเพราะว่าจะเป็นกิจกรรมที่ให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงตั้งแต่ขั้นเตรียมอุปกรณ์ เตรียมส่วนผสม เตรียมส่วนประกอบที่นำมาใช้ในการประกอบอาหาร ทำให้เด็กเกิดความสนใจ และ ช่วยทำให้เด็กจดจำได้ง่าย  ส่วยในขณะที่ทำอาหารนั้น เด็กต้องใช้การสังเกตปริมาณส่วนผสม ส่วนประกอบของอาหารที่จะทำ รวมถึงการสังเกตการเปลี่ยนแปลงของสิ่งที่นำมาทำเป็นอาหาร การเปรียบเทียบรสชาติ ในขณะทำอาหาร เด็กได้พัฒนาแนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับ ขนาด รูปร่าง ตัวเลข จำนวน สี การชั่ง ตวง การดมกลิ่น การรู้รส ซึ่งจะทำให้เด็กรับรู้ความเหมือน ความต่าง และ ความหมายของสิ่งที่เด็กได้รับรู้นั้น นอกจากนี้ เด็กก็ยังได้เรียนรู้ทักษะการจำแนก เช่น จำแนกส่วนประกอบอาหารที่นำมา แบ่งประเภทของอาหารตามเกณฑ์อื่นๆ เช่น สี จำนวน รูปร่าง และ ประเภท ในการจัดกิจกรรมประกอบอาหารนี้ครูอาจจะสร้างสถานการณ์เพื่อกระตุ้นให้เด็กมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ได้ด้วย เช่น ให้เด็กๆช่วยกันคิดว่า ถ้าเราจะลองทำไข่ยัดไส้ เด็กๆอยากจะใส่ส่วนผสมอะไรได้บ้าง เป็นต้นและกิจกรรมประกอบอาหารส่งเสริมกระบวนการทักษะทางวิทยาศาสตร์ ที่เหมาะสมกับเด็ก ในการทำกิจกรรมควรจะเป็นกิจกรรมที่มีขั้นตอนไม่ซับซ้อนที่เด็กได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเองเพื่อให้เด็กได้เกิดทักษะการสังเกต ได้เรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสิ่งที่เด็กขึ้นก่อนและหลังจากการทำอาหารและสามารถบอกรายละเอียดได้ว่าสิ่งที่เปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นได้อย่างไร





วันจันทร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2556


    สรุปวิจัย         

เรื่อง ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับ
                    การจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน                          

           การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง ศึกษาเกี่ยวกับทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน เพื่อเป็นแนวทางสำหรับครู และผู้ที่เกี่ยวข้องในการส่งเสริมทักษะวิทยาศาสตร์ให้แก่เด็กปฐมวัย รวมทั้งเป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทานให้มีจุดประสงค์ยิ่งขึ้น

ความมุ่งหมาย
เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทานก่อนและหลังการทดลอง

สมมุติฐาน
เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน มีทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ในแต่ละทักษะสูงขึ้น และรวมทุกทักษะสูงขึ้นมากกว่าก่อนการทดลอง

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นเด็กปฐมวัยชายหญิงอายุระหว่าง 5-6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 โรงเรียนวัดไทร(ถาวรพรหมานุกูล) สำนักงานเขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร ซึ่งได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจงได้ห้องเรียนชั้นอนุบาลปีที่2 มา 1ห้องเรียนซึ่งผู้วิจัยทำการสอน ทดสอบเด็กทั้งห้องโดยใช้แบบทดสอบที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น โดยเลือกเด็กที่มีคะแนนทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ใน 15 อันดับสุดท้ายเป็นกลุ่มทดลอง

เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาวิจัย
1. แผนการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน
2. แบบทดสอบวัดทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ มีความเชื่อมั่น .66

วิธีการดำเนินการทดลอง
การวิจัยครั้งนี้ดำเนินการทดลองในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2551 ทำการทดลองเป็นเวลา
8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 1 ครั้ง ครั้งละ 30 นาที ทำการทดลองในช่วงเวลา 08.30 –
09.00 . รวม 24 ครั้ง มีลำดับขั้นตอนดังนี้
1.ผู้วิจัยใช้คะแนนการทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยในขั้นตอนการเลือกตัวอย่างเป็นคะแนนก่อนการทดลอง
2.ผู้วิจัยดำเนินการทดลองด้วยตนเองโดยทดลองสัปดาห์ละ 3 วันวันละ 30 นาทีในช่วงเวลา 08.30 – 09.00 . ของวันจันทร์ วันอังคาร วันพุธ จนสิ้นสุดการทดลอง โดยระหว่างที่ผู้วิจัยดำเนินการทดลองกับเด็กกลุ่มตัวอย่างเด็กที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างอยู่ในความดูแลของครูผู้ช่วยสอน
3.เมื่อดำเนินการทดลองไปจนครบ 8 สัปดาห์ ผู้วิจัยทำการทดสอบหลังการทดลองกับเด็กกลุ่มตัวอย่างด้วยแบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ชุดเดียวกับก่อนการทดลอง
4.นำข้อมูลที่ได้จากการทดสอบไปทำการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ

สรุปได้ว่า
ผลการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทานมีทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สูงขึ้นกว่าก่อนการทดลองการที่เด็กได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน หลังการทดลองเด็กมีการพัฒนาทางด้านทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับดี และเมื่อจำแนกความสามารถทางทักษะทางวิทยาศาสตร์ออกเป็นรายด้าน พบว่ามีการพัฒนาในระดับดีมากคือ ด้านการสังเกต ส่วนด้านการจำแนกและการสื่อสารอยู่ระดับดี เช่นกันนั้นอาจจะเป็นไปได้ที่การจัดกิจกรรมมีหลักการสำคัญคือเด็กต้องลงมือปฏิบัติและคิดขณะทำกิจกรรมในการจัดกิจกรรมเล่านิทานดังกล่าว เด็กได้ฝึกทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ไปด้วยและได้รับความสนุกสนานและไม่เครียด เป็นผลดีต่อการพัฒนาทางสติปัญญาของเด็ก ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีทางสังคมของแบนดูรา ที่ชี้ให้เห็นว่ากระบวนการสนใจมีผลต่อการรับรู้ ถ้าเด็กมีความสนใจจะเกิดการรับรู้ได้ดีกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน เป็นการทำกิจกรรมที่ต่อเนื่องจากการเล่านิทานเมื่อเด็กได้ฟังนิทานจนจบเรื่อง เด็กจะได้ทำการทดลองในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับนิทาน เช่น นิทานครึ่งวงกลมสีแดง เด็กจะทำการทดลองเรื่อง เรือล่มอุปกรณ์ที่เด็กได้รับ คือ เรือกระดาษ ลูกแก้ว ดินน้ำมันอ่างใส่น้ำ เด็กได้พับเรือกระดาษแบบง่ายๆ และตอบคำถามว่าเรือลำนี้หนักหรือเบา ลอยน้ำหรือจมน้ำเด็กจะอธิบายว่า ลอยน้ำได้มันเบาเด็กลองนำเรือกระดาษลอยน้ำ เด็กได้สังเกตว่า เรือกระดาษลอยน้ำได้ จากนั้นเด็กทดลองใส่ลูกแก้วลงไปในเรือทีละคน เด็กตอบคำถามว่าถ้าใส่ลูกแก้วทีละลูกเรือจะจมหรือลอยน้ำ เด็กบางคนบอกจมเพราะใส่ลูกแก้ว เด็กบางคนบอกลอยได้เพราะเคยเห็นเรือบรรทุกของตั้งเยอะไม่เห็นจม จากนั้นเด็กๆลองใส่ลูกแก้วเรื่อยๆ เด็กบอกเรือยังลอยอยู่ (เพราะลูกแก้วยังจำนวนน้อย) เมื่อใส่มากเข้าเรือจมต่อหน้าเด็กๆ ในการจัดกิจกรรมการทดลองดังกล่าว เป็นการจัดกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กได้ฝึกปฏิบัติด้วยตนเอง จากกิจกรรมทำให้เด็กสังเกตขณะที่เรือลอยและเรือจม รู้จักการจำแนกหนัก เบา และสื่อสารบอกได้ว่าเรือจมเพราะมีลูกแก้วเยอะ เด็กได้คิดและหาคำตอบในการทดลองโดยเด็กเป็นผู้ปฏิบัติเองจากสื่ออุปกรณ์ที่ครูจัดเตรียมไว้ในแต่ละกิจกรรม เด็กได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรงโดยใช้ประสาทสัมผัสเข้าไปสังเกตสื่อและอุปกรณ์ต่างๆ

      ดังนั้น  การจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทานจึงเป็นรูปแบบหนึ่งในการจัดกิจกรรม              การเรียนการสอนที่สามารถส่งเสริมและพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยได้ ซึ่งผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าเด็กปฐมวัยเกิดทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ จากการสังเกตขณะเด็กเข้าร่วมกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทานและทำแบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ในแต่ละครั้งเด็กได้นำทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มาใช้อย่างต่อเนื่อง ทั้งทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนก และทักษะการสื่อสาร จึงส่งผลให้เด็กได้รับการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์เป็นทักษะพื้นฐานที่สำคัญในการส่งเสริมพัฒนาการของเด็กทุกด้านได้เป็นอย่างดีจึงมีความจำเป็นที่จะต้องได้รับการส่งเสริมตั้งแต่ในระดับปฐมวัยโดยการจัดกิจกรรมที่เหมาะสมสอดคล้องกับพัฒนาการของเด็กเพื่อสนองการเรียนรู้ของเด็กให้เต็มศักยภาพและประสบผลสำเร็จได้เป็นอย่างดี






วันศุกร์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2556



30 กันยายน 2556

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

EAED  3207  เวลา 14.10-17.30 น.


         อาจารย์ให้นักศึกษานำเสนอการทดลองวิทยาศาสตร์ ซึ่งการทดลองของดิฉัน คืือ ผ้าเปลี่ยนสี

การทดลองผ้าเปลี่ยนสี  มีอุปกรณ์และวิธีการทดลองดังนี้ค่ะ

อุปกรณ์

1. ผ้าสีขาว

2. ผงขมิ้น                                                           
                                                            

3. น้ำยางล้างเล็บ

4. แอมโมเนีย

5. ขวดสเปรย์

6. ถ้วย/ช้อน








ขั้นตอนวิธีการทดลอง

1. ถามเด็กๆว่า เด็กๆคะ   เด็กๆเห็นอุปกรณ์อะไรบนโต๊ะคุณครูบ้างคะ ให้เด็กตอบพร้อมทั้งหยิบอุปกรณ์ที่เด็กตอบไปวางทางด้านซ้ายมือของเด็กไปเรื่อยๆจนบอกอุปกรณ์ครบหมดทุกอัน
2. แล้วเด็กๆคิดว่าเด็กๆจะนำอุปกรณ์นี้มาทำอะไรได้บ้างคะ  เด็กๆตอบ
3. เมื่อเด็กๆตอบแล้ว หลังจากนั้น คุณครูจะพุดกับเด็กๆว่า  เดี๋ยวคุณครูจะนำอุปกรณ์นี้ทำการทดลองสนุกๆให้เด็กๆดูนะคะ
4.  คุณครูจะตักผงขมิ้นลงไปในถ้วย 1 ช้อนชา (ขอตัวแทนเด็กๆมาช่วยคุณครูหน่อยค่ะ)






                    5. ถามเด็กๆว่า ถ้าคุณครูนำน้ำยางเล็บเทลงไปในถ้วยที่มีผงขมิ้นอยู่ เด็กๆคิดว่าจะเกิดอะไรขึ้นคะ ให้เด็กๆตอบ  หลังจากนั้นเทน้ำยาล้างเล็บลงไปในถ้วยที่มีผงขมิ้นอยู่สังเกตการเปลี่ยนแปลง



6. คุณครูจะนำผ้าสีขาวลงไปย้อมกับน้ำผงขมิ้นที่ได้ผสมเอาไว้แล้ว 




7. นำผ้าที่ย้อมสีเสร็จแล้วนำไปซักแล้วตากแดดให้แห้ง 







          8. นำแอมโมเนียเทลงในขวดสเปรย์ที่เตรียมไว้ หลังจากนั้นคุณครูจะนำขวดสเปรย์ที่ใส่แอมโมเนียไว้ ไปฉีดลงบนผ้าสีเหลือง เด็กๆสังเกตไปพร้อมๆกับคณุครูนะคะว่าจะเกิดอะไรขึ้น



                เด็กๆตอบ ว่าเป็นสีแดง แล้วถามเด็กๆว่าทำไมผ้าถึงเป็นสีแดงคะ ให้เด็กตอบ  แล้วถ้าเิกิดคุณครูลองสบัดผ้าไปมา เด็กๆคิดว่าจะเกิดอะไรขึ้นคะ เด็กๆสังเกตไปพร้อมกับคุณครูนะคะ



ถามเด็กๆว่า เด็กคะทำไมผ้าถึงกลับไปมีสีเหลืองเหมือนเดิม ให้เด็กๆตอบ 

หลักการและเหตุผล

    ที่เป็นแบบนี้เพราะว่า เมื่อนำผ้าสีขาวไปย้อมกับผงขมิ้นจะทำให้ผ้าเป็นสีเหลือง  หลังจากนั้นนำแอมโมเนียฉีดลงไปบนผ้าจะทำให้ผ้าเป็นสีแดงเป็นเพราะว่า แอมโมเนียไปทำปฎิกิริยากับผงขมิ้น จะทำให้ผ้าเปลี่ยนสีจากสีเหลืองกลายเป็นสีแดง แต่พอสบัดผ้าไปมาจะทำให้แอมโมเนียระเหยไปทำให้ผ้าจากสีแดงกลายเป็นสีเหลืองเหมือนเดิมค่ะ 


เพื่อนก็ได้นำเสนอการทดลองมีดังนี้ค่ะ

หยก        ทำการทดลองเรื่อง      น้ำพุในขวด
บุ๋ม          ทำการทดลองเรื่อง      มะนาวตกน้ำ
จู             ทำการทดลองเรื่อง      ทีเด็ดน้ำยาล้างจาน
ตาล        ทำการทดลองเรื่อง      น้ำอัดลมฟองฟู
บี             ทำการทดลองเรื่อง      พริกไทยหนีน้ำ
เอีย         ทำการทดลองเรื่อง      ลาวาแลมป์
อัน          ทำการทดลองเรื่อง      ไข่ลอยไข่จม 

  เมื่อทำการทดลองเสร็จแล้ว อาจารย์ก็ให้เพื่อนๆส่งงานทั้งหมด มีของเล่น ของเล่นเข้ามุม และ การทดลองที่นำเสนอค่ะ

 ข้อเสนอแนะของอาจารย์ในการทำการทดลอง

การทดลองควรมีความปลอดภัยทั้งตัวเด็กและคุณครูในการทดลอง แล้วในการทดลองควรใช่คำถามในการถามเด็กเพื่อให้เด็กเกิดกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการทดลอง เช่น การสังเกต สิ่งที่เปลี่ยนแปลงให้เด็กได้เกิดความเข้าใจในการทำการทดลอง เป็นต้น
















23 กันยายน 2556

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

EAED  3207  เวลา 14.10 - 17.30น.



    วันนี้กลุ่มของดิฉันได้เป็นตัวแทนในการสอนทำอาหาร ซึ่งมีเมนูว่า "ข้าวผัดอะไรเอ่ย" มีส่วนประกอบของข้าวผัดดังนี้

ส่วนประกอบของข้าวผัด 
    
      วัตถุดิบ 

ข้าว

ไข่ไก่

แครอท

มะเขือเทศ

ข้าวโพด

เนื้อ หมู กุ้ง ไก่ หมึก

ต้นหอม

ถั่ว

กระเทียม

        เครื่องปรุงของข้าวผัด

น้ำมัน

น้ำปลา

น้ำตาล

รสดี

ซีอิ๊วขวา

ซอสหอยนางรม

        อุปกรณ์

กระทะ

ตะหลิว

กะละมัง

ช้อน/จาน

มีด/เขียง

ขั้นตอนการทำข้าวผัด 

1. ล้างเนื้อสัตว์ ล้างผัก  เตรียมวัตถุดิบ หั่นเนื้อหมู หั่นผัก

2. ตั้งกระทะให้ร้อน ใส่น้ำมันแล้วรอให้น้ำมันร้อน

3. โขลกกระเทียมใส่กระทะ

4. พอกระเทียมเริ่มหอมแล้วนำเนื้อที่เตรียมไว้

5. ผัดให้สุก ใส่ข้าวลงไปและใส่ไข่ตามแล้วผัดให้เข้ากัน แล้วใส่ผักลงไป

6. ใส่เครื่องปรุงลงไป (ปรุงรสตามใจชอบ)

7. ตักใส่จานพร้อมรับประทาน ตกแต่งให้เรียบร้อย

         และในระหว่างการทำข้าวผัดก็มีการตั้งคำถามเพื่อให้เด็กๆได้สังเกตถึงการเปลี่ยนแปลงเช่น
     เด็กๆสังเกตดูนะคะ    ว่าเนื้อสัตว์ก่อนทำอาหารกับเนื้อสัตว์หลังทำอาหารแล้วมีอะไรที่เปลี่ยนแปลงไปบ้างเพราะอะไรคะ
     เด็กลองดูผักก่อนทำอาหารกับผักหลังทำอาหารแล้วมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรเพราะอะไรคะ
ในคำถามเหล่านี้จะเป็นคำถามให้เด็กฝึกการสังเกตลักษณะอาหารที่ก่อนทำและหลังทำอาหารได้ว่าทั้งหมดเป็นเพราะสาเหตุอะไร  วิทยาศาสตร์ไม่ใช่แค่เรื่องของการทดลองเพียงอย่างเดียวแต่วิทยาศาสตร์สามารถนำมาสอนในเรื่องของการทำอาหารได้อีกด้วย แล้วการทำอาหารมีส่วนเกี่ยวข้องอย่างไรกับวิทยาศาสตร์ ในการทำอาหารมีส่วนเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ได้ในเรื่องของ การสังเกต การคาดคะเน เป็นต้น  





วันอังคารที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2556



16 กันยายน 2556

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

EAED  3207  เวลา 14.10 - 17.30 น.


           อาจารย์ได้พูดถึงเรื่องของการส่งงานทั้งหมดว่าใครที่ยังไม่ได้ส่งงานชิ้นไหนให้นำมาส่งในวันที่ 30 กันยายน 2556 เพราะว่าวันนี้และวันที่ 23 กันยายน 2556 อาจารย์จะให้ อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน มาสอนในเรื่องของการเขียนแผนการสอนวิทยาศาสตร์ ซึ่ง อาจารย์ตฤณ ก็ได้ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มกัน 5 กลุ่ม แล้วให้ตัวแทนแต่ละกลุ่มมารับกระดาษ 3 แผ่นพร้อมทั้งสี  หลังจากนั้นอาจารย์ให้นักศึกษานำกระดาษแผ่นที่ 1 เขียน Mind Mapping   อาหารที่อยากจะทำ  ซึ่งกลุ่มของดิฉันได้นำเสนอเรื่องข้าวผัดมีดังนี้ 

ส่วนประกอบของข้าวผัด 
    
      วัตถุดิบ 

ข้าว

ไข่ไก่

แครอท

มะเขือเทศ

ข้าวโพด

เนื้อ หมู กุ้ง ไก่ หมึก

ต้นหอม

ถั่ว

กระเทียม

        เครื่องปรุงของข้าวผัด

น้ำมัน

น้ำปลา

น้ำตาล

รสดี

ซีอิ๊วขวา

ซอสหอยนางรม

        อุปกรณ์

กระทะ

ตะหลิว

กะละมัง

ช้อน/จาน

มีด/เขียง

      ประโยชน์ของข้าวผัด

ทำให้ร่างกายแข็งแรง

ได้รับสารอาหารครบ5หมู่

ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย

  
กระดาษแผ่นที่2 อาจารย์ให้เขียนขั้นตอนวิธีการทำข้าวผัด

1. ล้างเนื้อสัตว์ ล้างผัก  เตรียมวัตถุดิบ หั่นเนื้อหมู หั่นผัก

2. ตั้งกระทะให้ร้อน ใส่น้ำมันแล้วรอให้น้ำมันร้อน

3. โขลกกระเทียมใส่กระทะ

4. พอกระเทียมเริ่มหอมแล้วนำเนื้อที่เตรียมไว้

5. ผัดให้สุก ใส่ข้าวลงไปและใส่ไข่ตามแล้วผัดให้เข้ากัน แล้วใส่ผักลงไป

6. ใส่เครื่องปรุงลงไป (ปรุงรสตามใจชอบ)

7. ตักใส่จานพร้อมรับประทาน ตกแต่งให้เรียบร้อย

กระดาษแผ่นที่ 3 อาจารย์ให้เขียนแผนการสอนการทำข้าวผัด

ซึ่งกลุ่มเพื่อนๆได้ทำอาหารดังนี้

นุ่น        แซนวิสไข่

หยก      วุ้นมะพร้าว

แอม      แกงจืดหมูสับ

อีฟ        ไข่ตุ๋น  


             และในการลงมติของเพื่อนๆให้กลุ่มของดิฉันเป็นคนสอนทำข้าวผัดในสัปดาห์ หน้าพร้อมทั้งเตรียมอุปกรณ์ เตรียมวัตถุดิบต่างๆในการทำข้าวผัดค่ะ








9 กันยายน 2556

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

EAED  3207  เวลา 14.10 - 17.30 น.


           อาจารย์ไปราชการต่างจังหวัดค่ะ แต่ได้มอบหมายงานไว้ ใครที่ยังไม่ส่งงานชิ้นใดให้นำมาส่งในสัปดาห์หน้าค่ะ


8 กันยายน 2556

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

EAED  3207  เวลา  14.10 - 17.30น.



                   อาจารย์ให้นักศึกษาส่งสื่อเข้ามุม ซึ่งกลุ่มดิฉัน มำเรื่องของ กล้องแว่นขยายผสมสี


อุปกรณ์

กล่องกระดาษ 1ใบ 

กรรไกร

กาว

สก็อตเทป

ฟิวเจอร์บอร์ด

กระดาษแก้ว สี แดง เหลือง น้ำเงิน

กระดาษห่อของขวัญ

แว่นขยาย




ขั้นตอนการทำ

1. เจาะรูกล่อง 1ด้านให้แว่นขยายสามารถเลื่อนได้ในระดับใกล้และไกล
2. นำกระดาษห่อของขวัญมาห่อกล่องที่เจาะรูเตรียมไว้ในตอนแรกแล้วนำคัตเตอร์เจาะตามรูที่ให้ไว้
3. นำแว่นขยายใส่เข้าไปแล้ววัดขนาดแว่นขยายแล้วเจาะรู เจาะรูเป็นวงกลมทั้ง2ข้าง หัว-ท้าย
4. เจาะรูฟิวเจอร์บอร์ดเป็นวงกลมตามขนาดของช่องที่ส่อง
5. ตัดกระดาษแก้วทั้ง 3 สี เป็นวงกลมขนาดใหญ่กว่าฟิวเจอร์บอร์ดที่เตรียมไว้ แล้วนำไปติดกับกรอบที่เตรียมให้
6. ทดลองนำกล่องขยับเข้าออก

วิธีการเล่น

     นำแว่นขยายใส่ลงไปในกล่องพร้อมทั้งนำสีต่างๆมาใส่ลงในช่องที่เตรียมไว้แล้วเลื่อนแว่นขยายเข้า-ออก สังเกตการเปลี่ยนแปลง  หรือ จะนำแผ่นรูปภาพที่ได้วาดไว้มาส่องดู โดยนำแว่นขยายส่องผ่านทางช่องของกล่องกระดาษที่ได้ตัดไว้ หลังจากนั้นสังเกตรูปภาพในขณะที่ เลื่อนแว่นขยายเข้า - ออก  

หลักการในการทำกล่องแว่นขยายผสมสี

      ทำไมถึงมองเห็นวัตถุที่มีขนาดใหญ่ขึ้นเมื่อนำแว่นขยายมาส่อง  ที่เป็นแบบนี้เพราะว่า แว่นขยายทำจากเลนส์นูนที่มีความหนามาก  เมื่อแสงเกิดการหักเหจะทำให้วัตถุที่เราส่องจะมีขนาดใหญ่ขึ้นและแสงจะหักเหได้มองเห็นได้เมื่ออยู่ในอากาศ









2 กันยายน 2556

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

EAED   3207  เวลา 14.10-17.30น.


   วันนี้อาจารย์มีประชุมด่วนค่ะ ดิฉันได้ค้นคว้าเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ดังนี้

วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย

การเรียนวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

      วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กอายุ  3 – 6  ขวบ  มิได้หมายถึงสาระทางชีววิทยา  เคมี  กลศาสตร์  แต่เนื้อหาวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยคือ  สาระเกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็กที่เด็กควรรู้  การเรียนการสอนมุ่งเพื่อให้เด็กเกิดความเข้าใจมากกว่าที่จะจำเป็นองค์ความรู้  การเรียนวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยแตกต่างจากเด็กวัยอื่นที่เด็กปฐมวัยมีการเจริญของสมองที่รวดเร็วและต้องการการกระตุ้นเพื่อการงอกงามของใยสมองในช่วงปฐมวัย  แต่ขณะเดียวกันพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก  อายุ  2 – 6  ขวบ  ยังเป็นช่วงก่อนปฏิบัติการ  (pre – operative  stage)  เด็กเอาตนเองเป็นศูนย์กลาง  (self - centered)  และมองสิ่งรอบตัวโดยเน้นที่ตัวของเด็กเอง  เด็กจะรับรู้และคิดถ่ายโยงเป็นทิศทางเดียวไม่ซับซ้อน  เช่น  รู้สี  รู้รูปร่าง  โดยรู้ทีละอย่าง  จะเรียนรู้สองอย่างพร้อมกันไม่ได้  หรือเอามาผนวกกันไม่ได้  ซึ่งการเรียนวิทยาศาสตร์เป็นการเรียนเพื่อฝึกเด็กให้บูรณาการข้อความรู้ต่าง ๆ  เข้าด้วยกันโดยให้เด็กรู้จักสังเกต  ค้นหา  ให้เหตุผล  หรือทดลองด้วยตนเอง  ด้วยเหตุนี้การเรียนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยจึงต้องเริ่มจากทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์  ได้แก่  การสังเกต  การค้นคว้าหาคำตอบ  การให้เหตุผล  ตามด้วยการเรียนทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์  และความรู้ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กโดยใช้ประสบการณ์จริงและการทดลองปฏิบัติ  เช่น  การเรียนรู้การเจริญเติบโตของพืชด้วยการทดลองปลูกพืช  สังเกตความสูงของพืช  และการงอกงามของพืช  เป็นต้น
       การสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยเป็นการสอนข้อความรู้  ซึ่งต่างจากการสอนให้รู้ข้อความรู้ตรงที่การสอนข้อความรู้ต้องการความสนใจ  การสังเกต  การจำ  และการเรียกความจำจากความเข้าใจถ่ายโยงได้  ไม่ใช่การท่องจำซึ่งตรงกับการเรียนวิทยาศาสตร์ที่เป็นการเรียนรู้จากการให้คิดและมีเหตุผล  เกิดการเข้าใจมโนทัศน์  เชื่อสานข้อมูลประยุกต์  และสรุปเป็นข้อความรู้ได้ด้วยตนเอง  ซึ่งในการเรียนวิทยาศาสตร์เด็กต้องพัฒนาทักษะการคิดเพื่อนำไปสู่ข้อสรุปให้ได้  ตัวอย่าง  เช่น  เด็กเรียนเรื่องเต่ากับหนู  โดยการศึกษาเปรียบเทียบ  ค้นหาข้อแตกต่างและข้อเหมือน  และนำไปสู่ข้อสรุปว่า  เต่ามีลักษณะอย่างไร  หนูมีลักษณะอย่างไร  (Hendrick,  1998  :  42)  ดังนั้นการเรียนวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยจึงมิใช่การสอนให้รู้ข้อความรู้  เพราะเด็กไม่สามารถรับความรู้นามธรรมได้  เด็กปฐมวัยต้องเรียนรู้วิทยาศาสตร์จากประสบการณ์
      การเรียนรู้สิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็กและธรรมชาติเป็นสาระหลักสำหรับเด็กปฐมวัยในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  ดร.ดินา  สตาเคิล  (Dina  Stachel)  ของมหาวิทยาลัยเทอาวีพ  ประเทศอิสราเอล  ได้พัฒนาโปรแกรมมาทาลขึ้น  เพื่อใช้ในการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  โดยเน้นให้เด็กมีความสนุกกับการเรียน  รู้จักสร้างสรรค์และคิดสร้างสรรค์  สาระวิทยาศาสตร์ที่เด็กเรียนจำแนกเป็น  4  หน่วย  ดังนี้  (สตาเคิล,  2542  :  12)

                        หน่วยที่  1     การสังเกตโลกรอบตัว
                        หน่วยที่  2     การรับรู้ทางประสาทสัมผัสและการเรียนรู้
                        หน่วยที่  3     รู้ทรงและสิ่งที่เกี่ยวข้อง
                        หน่วยที่  4     การจัดหมู่และการจำแนกประเภท

          ในการเรียนหน่วยวิทยาศาสตร์ทั้ง  4  หน่วยดังกล่าว  เด็กต้องใช้ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์  ได้แก่  ทักษะการสังเกต  การจำแนกประเภท  การสื่อความหมายและทักษะการลงความเห็นการเรียนวิทยาศาสตร์ไม่ใช่การเปรียบเทียบมิติเดียวเหมือนอย่างเช่นคณิตศาสตร์  แต่การเรียนวิทยาศาสตร์เป็นการเรียนเชื่อมโยงข้อมูลเพื่อหาข้อสรุปคำตอบ  ซึ่งเด็กสามารถเรียนรู้วิทยาศาสตร์รอบตัวได้  หากครูจัดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับพัฒนาการเด็ก
ทักษะพื้นฐานและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

         การเรียนวิทยาศาสตร์เป็นการเรียนการแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผล  ซึ่งเรียกว่ากระบวนการทางวิทยาศาสตร์เด็กปฐมวัยสามารถเรียนรู้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ได้โดยครูกับเด็กช่วยกันคิดและปฏิบัติเป็นกระบวนการเริ่มจากขั้นที่  1  ถึงขั้นที่  5  ดังนี้

                ขั้นที่  1  กำหนดขอบเขตของปัญหา  ครูกับเด็กร่วมกันคิดตั้งประเด็นปัญหาสิ่งที่ต้องการเรียนรู้ร่วมกัน เช่น  ต้นไม้โตได้อย่างไร
                ขั้นที่  2  ตั้งสมมุติฐาน  เป็นขั้นของการวางแผนร่วมกัน  ในการที่จะทดลองหาคำตอบจากการคาดเดาล่วงหน้าว่า  ถ้า.......จะเกิด......เป็นต้น
                ขั้นที่  3  ทดลองและเก็บข้อมูล  เป็นขั้นตอนที่ครูกับเด็กร่วมกันดำเนินการตามแผนการทดลองตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้ในข้อ  2
                ขั้นที่  4  วิเคราะห์ข้อมูล  ครูและเด็กนำผลการทดลองมาสนทนา อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน เช่น  ทำไมต้นไม้ปลูกพร้อมกันจึงโตไม่เท่ากัน
                ขั้นที่  5  สรุปผลคำตอบสมมุติฐาน  ว่าผลที่เกิดคืออะไร  เพราะอะไร  ทำไม  ถ้าเด็กต้องการศึกษาต่อจะกลับมาเรียนขั้นที่  1  ใหม่  แล้วต่อเนื่องไปถึงขั้นที่  5  เป็นวงจรของการขยายการเรียนรู้

                กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ทั้ง  5  ขั้น  เป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องเป็นวัฏจักร  ทักษะพื้นฐานที่ต้องนำมาใช้ในกระบวนการ คือ  การสังเกต  การจำแนกและเปรียบเทียบ  การวัด  การสื่อสาร  การทดลอง  การสรุปและการนำไปใช้  (Brewer,  1995  :  288 - 290)

                การสังเกต  ครูต้องสอนให้เด็กรู้จักสังเกตใช้เทคนิคการสังเกตเป็น  เด็กต้องได้รับการสอนให้รู้จักสังเกตปรากฏการณ์หรือการกระทำอย่างระมัดระวังและถี่ถ้วน  จากการสังเกตนอกจากการใช้ ตาดู เด็กอาจต้องใช้หูฟัง  จมูกดมกลิ่น  ลิ้นชิมรส  กายสัมผัสหรือรับความรู้สึก หรือใช้ทุกอย่างร่วมกัน

                การจำแนกเปรียบเทียบ  การจำแนกเป็นทักษะพื้นฐานที่ใช้ในการจัดระเบียบข้อมูล  ซึ่งในการจำแนกนี้เด็กต้องสามารถเปรียบเทียบและบอกข้อแตกต่างของคุณสมบัติ  ถ้าเด็กเล็กมาก  เด็กอาจจำแนกสีหรือจำแนกรูปร่างได้  การจำแนกหรือเปรียบเทียบสำหรับเด็กปฐมวัย  ต้องใช้คุณสมบัติหยาบ ๆ  เห็นรูปธรรมเด็กจึงจะทำได้

                การวัด  การวัดเป็นกระบวนการรวบรวมข้อมูลและตัดสินเพื่อบอกว่าขนาด  ปริมาณของสิ่งที่เห็นคืออะไร  เด็กปฐมวัยจึงใช้การวัดเป็นการเปรียบเทียบเชิงปริมาณโดยสามารถใช้เครื่องมือวัดอย่างหยาบได้  สามารถบอกมาก-น้อยกว่ากันได้

                การสื่อสาร  ทักษะการสื่อสารจำเป็นมากในกระบวนการวิทยาศาสตร์  เพราะการสื่อสารเป็นทางบอกว่าเด็กได้ สังเกต  จำแนก  เปรียบเทียบ  หรือวัด  เป็นหรือไม่  เข้าใจข้อมูลหรือสิ่งที่ศึกษาในระดับใด  ด้วยการกระตุ้นให้เด็กแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน  อภิปรายข้อค้นพบ  บอก และบันทึกสิ่งที่พบ

                การทดลอง  เด็กปฐมวัยเป็นนักทดลองมาโดยกำเนิด  เช่น  การรื้อค้น  การกระแทก  การทุบ  การโยนสิ่งของหรือการเล่น จากการเล่นเป็นการเรียนรู้  ซึ่งมักเป็นการทดลองแบบลองผิดลองถูก  แต่การทดลองทางวิทยาศาสตร์จะถูกจัดระเบียบมากขึ้น  มีการควบคุมให้เด็กทำอย่างมีระเบียบวิธี  มีการสังเกตอย่างมีความหมาย  เช่น  การทดลองการกระจายของหยดสีในน้ำที่มีความเข้มข้นไม่เท่ากัน  เด็กจะสังเกตเห็นสีสด  สีจาง  ต่างกัน

                การสรุปและการนำไปใช้  เด็กปฐมวัยมีความสามารถสรุปได้เฉพาะข้อมูลเชิงประจักษ์  เด็กสามารถบอกว่าอะไรเกิดขึ้น  สาเหตุใด  มีผลอย่างไร  แต่เป็นไปตามสายตาที่เห็นเป็นรูปธรรมเท่านั้น  ซึ่งการทดลองวิทยาศาสตร์  ทำให้เด็กเห็นจริงกับตา  สัมผัสกับมือ  เด็กจะบอกได้ว่ามีอะไรเกิดขึ้น  การได้ฝึกทักษะอย่างเป็นกระบวนการจะทำให้เด็กสามารถบอกได้ว่าจะนำไปใช้ทำอะไร  หรือนำไปใช้แก้ปัญหาอย่างไรได้ด้วย

 เป้าหมายของการเรียนวิทยาศาสตร์

          เด็กปฐมวัยเรียนวิทยาศาสตร์ในแง่ของทักษะพื้นฐาน  กระบวนการและสาระวิทยาศาสตร์เบื้องต้น  เป้าหมายสำคัญของการเรียน  คือ  (Brewer,  1995  :  290)
                1.  ให้เด็กได้ค้นคว้าและสืบค้นสิ่งต่าง ๆ  และปรากฏการณ์ที่มี
                2.  ให้เด็กได้ใช้กระบวนการทักษะทางวิทยาศาสตร์อย่างแท้จริง
                3.  กระตุ้นความอยากรู้อยากเห็น  ความสนใจ  และเจตคติของเด็กด้วยการค้นให้พบ
                4.  ช่วยให้เด็กค้นหาข้อมูลความรู้บางอย่างที่เป็นวิทยาศาสตร์ที่สัมพันธ์กับชีวิตประจำวันและการสืบค้นของตัวเด็ก
                การเรียนวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยเป็นการเรียนเพื่อสร้างเสริมนิสัยการเรียนรู้อย่างมีกระบวนการ  ส่งเสริมให้เด็กคิดอย่างเป็นระบบ  และศึกษาสิ่งต่าง ๆ  ด้วยการนำทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มาใช้เป็นสิ่งกระตุ้นพัฒนาการเรียนรู้  และส่งเสริมพัฒนาการทุกด้านของเด็ก  (ประสาท  เนืองเฉลิม,  2545  :  20 - 26)  ในขณะเดียวกัน  กิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ทำให้เด็กได้พัฒนาความรู้วิทยาศาสตร์และได้พัฒนาองค์ความรู้ใหม่จากสิ่งที่เด็กได้สัมผัสด้วย
 สาระวิทยาศาสตร์ที่เด็กต้องเรียน
          ดังกล่าวแล้วว่าเด็กปฐมวัยเรียนวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานวิทยาศาสตร์  การเรียนรู้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์  และสาระวิทยาศาสตร์  ซึ่งสาระวิทยาศาสตร์ที่เด็กปฐมวัยเรียนประกอบด้วยสาระต่าง ๆ  ที่เป็นสิ่งแวดล้อมรอบตัว  ดังนี้
                1.  สาระเกี่ยวกับพืช  ได้แก่  พืช  เรื่องที่นำมาเรียนได้แก่  ต้นไม้  ดอกไม้  ผลไม้  การปลูกพืช  การใช้ประโยชน์จากพืช
               2.  สาระเกี่ยวกับสัตว์  ได้แก่  ประเภทของสัตว์  สวนสัตว์  การเลี้ยงสัตว์
               3.  สาระเกี่ยวกับฟิสิกส์  เช่น  การจม  การลอย  ความร้อน  ความเย็น
               4.  สาระเกี่ยวกับเคมี  ได้แก่  รสผลไม้  การละลายของน้ำแข็ง
               5.  สาระเกี่ยวกับธรณีวิทยา  ได้แก่  ดิน  ทราย  หิน  ภูเขา
               6.  สาระเกี่ยวกับดาราศาสตร์  ได้แก่  ดวงอาทิตย์  ดวงจันทร์  ดาว  ฤดูกาล
                หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย  พุทธศักราช  2546  ได้กำหนดสาระทางวิทยาศาสตร์ไว้ในหลักสูตร  เรียกว่า  ธรรมชาติรอบตัว  โดยกำหนดให้เด็กเรียน  สิ่งมีชีวิต  สิ่งไม่มีชีวิต  รวมทั้งความเปลี่ยนแปลงของโลกที่แวดล้อมเด็กตามธรรมชาติ  เช่น  ฤดูกาล  กลางวัน  กลางคืน  ฯลฯ

 หลักการจัดกิจกรรม

        ประสบการณ์วิทยาศาสตร์เป็นการสร้างเด็กให้เรียนรู้กระบวนการวิทยาศาสตร์และเนื้อหาที่เป็นวิทยาศาสตร์  หลักการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ให้กับเด็กที่สำคัญมีดังนี้  (Seefeldt,  1980  :  236)

                1.  เป็นเรื่องใกล้ตัวเด็ก  ประสบการณ์ที่เลือกมาจัดให้แก่เด็ก  ควรเป็นเรื่องใกล้ตัวเด็ก  โดยใกล้ทั้งเวลา  เหมาะสมกับพัฒนาการ  ความสนใจและประสบการณ์ที่ผ่านมาของเด็ก
                2.  เอื้ออำนวยให้แก่เด็กได้กระทำตามธรรมชาติของเด็ก  เด็กมีธรรมชาติที่ชอบสำรวจ  ตรวจค้น  กระฉับกระเฉง  หยิบโน่นจับนี่  จึงควรจัดประสบการณ์ที่ใช้ธรรมชาติในการแสวงหาความรู้
                3.  เด็กต้องการและสนใจ  ประสบการณ์ที่จัดให้เด็กต้องสอดคล้องกับความต้องการของเด็กและอยู่ในความสนใจของเด็ก  ดังนั้นหากบังเอิญมีเหตุการณ์ที่เด็กสนใจเกิดขึ้นในชั้นเรียน  ครูควรถือโอกาสนำเหตุการณ์นั้นมาเป็นประโยชน์ในการจัดประสบการณ์ที่สัมพันธ์กันในทันที
                4.  ไม่ซับซ้อน  ประสบการณ์ที่จัดให้นั้นไม่ควรเป็นประสบการณ์ที่มีเนื้อหาซับซ้อน  แต่ควรเป็นประสบการณ์ที่มีเนื้อหาเป็นส่วนเล็ก ๆ  และจัดให้เด็กทีละส่วน  ประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ของเด็กส่วนใหญ่จะเป็นพื้นฐานความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์ในเวลาต่อมา  ทั้งนี้พื้นฐานต้องเริ่มจากระดับง่ายไม่ซับซ้อนไปสู่ระดับของการสำรวจตรวจค้น  และระดับของการทดลอง  ซึ่งเป็นระดับที่สร้างความเข้าใจมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์
                5.  สมดุล  ประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ที่จัดให้เด็กควรมีความสมดุล  ทั้งนี้เพราะเด็ก  ต้องการประสบการณ์ในทุกสาขาของวิทยาศาสตร์  เพื่อจะได้พัฒนาในทุก ๆ  ด้าน  ซึ่งแม้ว่าเด็กจะสนใจเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิต  ได้แก่  พืชและสัตว์  ครูก็ควรจัดประสบการณ์หรือแนะนำให้เด็กสนใจวิทยาศาสตร์ด้านอื่น ๆ

         กิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ต้องกระตุ้นให้เด็กเกิดความสนใจวิทยาศาสตร์  พัฒนาเป็นกระบวนการเรียนรู้  เกิดความคิดสร้างสรรค์  เกิดความเข้าใจในวิทยาศาสตร์มากขึ้น  หลักการจัดกิจกรรมมีอย่างน้อย  5  ประการ  ดังนี้  (ประสาท  เนืองเฉลิม,  2546 : 28)

                        1.  มีการกำหนดจุดประสงค์อย่างชัดเจน
                        2.  ครูเป็นผู้กำกับให้คำปรึกษาและอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้
                        3.  กิจกรรมที่จัดขึ้นสนองตอบความสนใจของเด็ก
                        4.  สอดคล้องกับการเรียนการสอนในชั้นเรียน
                        5.  กิจกรรมที่จัดต้องส่งเสริมให้เด็กมีภาวะสร้างสรรค์และพัฒนาระบบการคิดของเด็ก

                กิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ต้องเป็นกิจกรรมที่สร้างเสริมการเรียนรู้  และพัฒนาปัญญาด้วยความสนุก  เด็กต้องได้ปฏิบัติจริงและเป็นไปได้  เด็กควรเรียนรู้จากปรากฏการณ์ธรรมชาติจริงที่มีความเป็นไปได้  เด็กเรียนรู้ได้ดีจากการสัมผัสและการกระทำ  การเรียนรู้จากประสบการณ์เป็นการเรียนรู้โดยการลงมือทำงาน  เรียนรู้จากประสบการณ์ชีวิตที่ผู้เรียนได้ทบทวนเกี่ยวกับประสบการณ์ของตนเอง  เกิดจากมุมมองจากการได้สัมผัส  ได้รับรู้ประสบการณ์ของตน  ประสบการณ์นับเป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีคุณค่า  กระตุ้นให้เกิดการคิดและการเรียนรู้  (Burnard,  1996  :  15 - 19)  การให้เด็กทำกิจกรรมเป็นการเสริมสัมผัสและการเรียนรู้ของเด็ก  การพัฒนาการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่สำคัญต้องเน้นการคิด  การแก้ปัญหา  การแสดงออกถึงพัฒนาการทางวิทยาศาสตร์ของเด็ก  ซึ่งสังเกตได้จากพฤติกรรม  ต่อไปนี้

                 มีความสนใจเรื่องราวและสิ่งต่าง ๆ  รอบตัว
                 มีความอยากรู้อยากเห็น
                 มีพัฒนาการทางภาษาอย่างมาก
                 มีความสนใจค้นคว้าสิ่งแวดล้อมและสิ่งที่เด็กสัมผัส

 ตัวอย่างกิจกรรมการเรียนรู้

               กิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  สามารถบูรณาการไปกับกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์  ศิลปะ  และภาษา  หรือนำกิจกรรมอื่น ๆ  มาประสานด้วยได้  ข้อสำคัญต้องให้เด็กได้เรียนรู้จากการสังเกตและทดลอง  ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างกิจกรรมสำหรับเด็กปฐมวัยในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
กิจกรรมสำหรับเด็กอายุ  3 – 4  ขวบ

                Ÿ  สังเกตสัตว์เลี้ยง  โดยให้เด็กไปดูปลา  สัมผัสแมว  ได้ลูบหมา
                Ÿ  สังเกตพืช  จำแนกส่วนประกอบของพืช  ส่วนประกอบของผลไม้  สังเกตดอกไม้  และใบไม้
                Ÿ  สังเกตรังของสัตว์ต่าง ๆ
                Ÿ  ทดลองเลี้ยงสัตว์  ให้อาหารสัตว์
                Ÿ  สังเกตสัตว์ในธรรมชาติ  เช่น  ดูนก  ดูผีเสื้อ ดูแมลง
กิจกรรมสำหรับเด็กอายุ  5 – 6  ขวบ
                กิจกรรมสำหรับเด็กวัยนี้ให้มีการทดลองได้  เด็กสามารถเข้าใจมากขึ้น  รวบรวมข้อมูลเป็น  สรุปเป็น  ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างของกิจกรรม
                Ÿ  จำแนกเมล็ดพืช  จำแนกใบไม้  จำแนกสิ่งต่าง ๆ  ที่หาได้
                Ÿ  สังเกตสัตว์เลี้ยง  เพื่ออธิบายลักษณะ  นิสัย  หรือวิธีการดูแล
                Ÿ  สังเกตธรรมชาติ  เช่น  กลางวัน  กลางคืน  อุณหภูมิ
                Ÿ  สังเกตการงอกของต้นไม้
                Ÿ  ทำสวนครัว  ปลูกต้นไม้
                Ÿ  ศึกษาวงจรชีวิตสัตว์ต่าง ๆ  เช่น  ตัวไหม  ผีเสื้อ  กบ
                Ÿ  ดูการฝักไข่  เก็บไข่  การปลูกเห็ด  เก็บผลไม้ต่าง ๆ 

ประโยชน์จากการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

                พัฒนาการทางปัญญาเป็นความสามารถทางสมองในการรวบรวมประสบการณ์และความรู้มาเป็นพื้นฐานของการคิดเหตุผล  ช่วยให้เกิดความรู้  ความเข้าใจ  สามารถแก้ปัญหาได้  และสามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ความสามารถเหล่านี้สามารถพัฒนาให้เกิดขึ้นกับเด็กปฐมวัยด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทางปัญญา  การพัฒนาทางสติปัญญา  ไม่ใช่การเพิ่มระดับไอคิว  แต่การพัฒนาทางสติปัญญาเน้นการเพิ่มพัฒนาการทางสติปัญญาใน  2  ประการ  คือ

                1.  ศักยภาพทางปัญญา  คือ การสังเกต  การคิด  การแก้ปัญหา  การปรับตัว  และการใช้ภาษา
                2.  พุทธิปัญญา  คือ  ความรู้ความเข้าใจที่ใช้เป็นพื้นฐานของการขยายความรู้  การคิดวิเคราะห์  สังเคราะห์  และประเมินเพื่อการพัฒนาการรู้การเข้าใจที่สูงขึ้น

          การเรียนวิทยาศาสตร์  เป็นการพัฒนาศักยภาพทางปัญญา  และพุทธิปัญญา  จากการทำกิจกรรมการเรียนวิทยาศาสตร์  สิ่งที่เด็กได้จากกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่มีประสิทธิภาพมีอย่างน้อย  4  ประการ  คือ

                1.  ความสามารถในการสังเกต  การจำแนก  การแจกแจง  การดู  ความเหมือน ความต่าง  ความสัมพันธ์
                2.  ความสามารถในการคิด  การคิดเป็นการจัดระบบความสัมพันธ์ของข้อมูลภาพ  และสิ่งที่พบเห็นเข้าด้วยกัน  เพื่อแปลตามข้อมูลหรือเชื่อมโยงข้ออ้างอิงที่พบไปสู่การประยุกต์ใช้ที่เหมาะสม  การคิดเป็นคือการคิดอย่างมีเหตุผล  โดยคำนึงถึงหลักวิชาการและบริบท
                3.  ความสามารถในการแก้ปัญหา  ซึ่งมักจะเกิดขึ้นระหว่างการจัดกิจกรรม  เด็กจะได้เรียนรู้จากการค้นคว้าในการเรียนนั้น ๆ
                4.  การสรุปข้อความรู้  หรือมโนทัศน์จากการสังเกต  และการทดลองจริงสำหรับเป็นพื้นฐานความรู้ของการเรียนรู้ต่อเนื่อง