Welcome

วันอาทิตย์ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2556


 

     สรุปบทความ  



ทำอาหาร: กิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะทางวิทยาศาสตร์ในเด็กปฐมวัย

           การประกอบอาหารเป็นกิจกรรมหนึ่งที่จะช่วยส่งเสริมทักษะวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยเป็นเพราะว่าจะเป็นกิจกรรมที่ให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงตั้งแต่ขั้นเตรียมอุปกรณ์ เตรียมส่วนผสม เตรียมส่วนประกอบที่นำมาใช้ในการประกอบอาหาร ทำให้เด็กเกิดความสนใจ และ ช่วยทำให้เด็กจดจำได้ง่าย  ส่วยในขณะที่ทำอาหารนั้น เด็กต้องใช้การสังเกตปริมาณส่วนผสม ส่วนประกอบของอาหารที่จะทำ รวมถึงการสังเกตการเปลี่ยนแปลงของสิ่งที่นำมาทำเป็นอาหาร การเปรียบเทียบรสชาติ ในขณะทำอาหาร เด็กได้พัฒนาแนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับ ขนาด รูปร่าง ตัวเลข จำนวน สี การชั่ง ตวง การดมกลิ่น การรู้รส ซึ่งจะทำให้เด็กรับรู้ความเหมือน ความต่าง และ ความหมายของสิ่งที่เด็กได้รับรู้นั้น นอกจากนี้ เด็กก็ยังได้เรียนรู้ทักษะการจำแนก เช่น จำแนกส่วนประกอบอาหารที่นำมา แบ่งประเภทของอาหารตามเกณฑ์อื่นๆ เช่น สี จำนวน รูปร่าง และ ประเภท ในการจัดกิจกรรมประกอบอาหารนี้ครูอาจจะสร้างสถานการณ์เพื่อกระตุ้นให้เด็กมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ได้ด้วย เช่น ให้เด็กๆช่วยกันคิดว่า ถ้าเราจะลองทำไข่ยัดไส้ เด็กๆอยากจะใส่ส่วนผสมอะไรได้บ้าง เป็นต้นและกิจกรรมประกอบอาหารส่งเสริมกระบวนการทักษะทางวิทยาศาสตร์ ที่เหมาะสมกับเด็ก ในการทำกิจกรรมควรจะเป็นกิจกรรมที่มีขั้นตอนไม่ซับซ้อนที่เด็กได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเองเพื่อให้เด็กได้เกิดทักษะการสังเกต ได้เรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสิ่งที่เด็กขึ้นก่อนและหลังจากการทำอาหารและสามารถบอกรายละเอียดได้ว่าสิ่งที่เปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นได้อย่างไร





วันจันทร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2556


    สรุปวิจัย         

เรื่อง ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับ
                    การจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน                          

           การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง ศึกษาเกี่ยวกับทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน เพื่อเป็นแนวทางสำหรับครู และผู้ที่เกี่ยวข้องในการส่งเสริมทักษะวิทยาศาสตร์ให้แก่เด็กปฐมวัย รวมทั้งเป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทานให้มีจุดประสงค์ยิ่งขึ้น

ความมุ่งหมาย
เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทานก่อนและหลังการทดลอง

สมมุติฐาน
เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน มีทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ในแต่ละทักษะสูงขึ้น และรวมทุกทักษะสูงขึ้นมากกว่าก่อนการทดลอง

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นเด็กปฐมวัยชายหญิงอายุระหว่าง 5-6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 โรงเรียนวัดไทร(ถาวรพรหมานุกูล) สำนักงานเขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร ซึ่งได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจงได้ห้องเรียนชั้นอนุบาลปีที่2 มา 1ห้องเรียนซึ่งผู้วิจัยทำการสอน ทดสอบเด็กทั้งห้องโดยใช้แบบทดสอบที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น โดยเลือกเด็กที่มีคะแนนทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ใน 15 อันดับสุดท้ายเป็นกลุ่มทดลอง

เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาวิจัย
1. แผนการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน
2. แบบทดสอบวัดทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ มีความเชื่อมั่น .66

วิธีการดำเนินการทดลอง
การวิจัยครั้งนี้ดำเนินการทดลองในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2551 ทำการทดลองเป็นเวลา
8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 1 ครั้ง ครั้งละ 30 นาที ทำการทดลองในช่วงเวลา 08.30 –
09.00 . รวม 24 ครั้ง มีลำดับขั้นตอนดังนี้
1.ผู้วิจัยใช้คะแนนการทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยในขั้นตอนการเลือกตัวอย่างเป็นคะแนนก่อนการทดลอง
2.ผู้วิจัยดำเนินการทดลองด้วยตนเองโดยทดลองสัปดาห์ละ 3 วันวันละ 30 นาทีในช่วงเวลา 08.30 – 09.00 . ของวันจันทร์ วันอังคาร วันพุธ จนสิ้นสุดการทดลอง โดยระหว่างที่ผู้วิจัยดำเนินการทดลองกับเด็กกลุ่มตัวอย่างเด็กที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างอยู่ในความดูแลของครูผู้ช่วยสอน
3.เมื่อดำเนินการทดลองไปจนครบ 8 สัปดาห์ ผู้วิจัยทำการทดสอบหลังการทดลองกับเด็กกลุ่มตัวอย่างด้วยแบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ชุดเดียวกับก่อนการทดลอง
4.นำข้อมูลที่ได้จากการทดสอบไปทำการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ

สรุปได้ว่า
ผลการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทานมีทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สูงขึ้นกว่าก่อนการทดลองการที่เด็กได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน หลังการทดลองเด็กมีการพัฒนาทางด้านทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับดี และเมื่อจำแนกความสามารถทางทักษะทางวิทยาศาสตร์ออกเป็นรายด้าน พบว่ามีการพัฒนาในระดับดีมากคือ ด้านการสังเกต ส่วนด้านการจำแนกและการสื่อสารอยู่ระดับดี เช่นกันนั้นอาจจะเป็นไปได้ที่การจัดกิจกรรมมีหลักการสำคัญคือเด็กต้องลงมือปฏิบัติและคิดขณะทำกิจกรรมในการจัดกิจกรรมเล่านิทานดังกล่าว เด็กได้ฝึกทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ไปด้วยและได้รับความสนุกสนานและไม่เครียด เป็นผลดีต่อการพัฒนาทางสติปัญญาของเด็ก ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีทางสังคมของแบนดูรา ที่ชี้ให้เห็นว่ากระบวนการสนใจมีผลต่อการรับรู้ ถ้าเด็กมีความสนใจจะเกิดการรับรู้ได้ดีกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน เป็นการทำกิจกรรมที่ต่อเนื่องจากการเล่านิทานเมื่อเด็กได้ฟังนิทานจนจบเรื่อง เด็กจะได้ทำการทดลองในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับนิทาน เช่น นิทานครึ่งวงกลมสีแดง เด็กจะทำการทดลองเรื่อง เรือล่มอุปกรณ์ที่เด็กได้รับ คือ เรือกระดาษ ลูกแก้ว ดินน้ำมันอ่างใส่น้ำ เด็กได้พับเรือกระดาษแบบง่ายๆ และตอบคำถามว่าเรือลำนี้หนักหรือเบา ลอยน้ำหรือจมน้ำเด็กจะอธิบายว่า ลอยน้ำได้มันเบาเด็กลองนำเรือกระดาษลอยน้ำ เด็กได้สังเกตว่า เรือกระดาษลอยน้ำได้ จากนั้นเด็กทดลองใส่ลูกแก้วลงไปในเรือทีละคน เด็กตอบคำถามว่าถ้าใส่ลูกแก้วทีละลูกเรือจะจมหรือลอยน้ำ เด็กบางคนบอกจมเพราะใส่ลูกแก้ว เด็กบางคนบอกลอยได้เพราะเคยเห็นเรือบรรทุกของตั้งเยอะไม่เห็นจม จากนั้นเด็กๆลองใส่ลูกแก้วเรื่อยๆ เด็กบอกเรือยังลอยอยู่ (เพราะลูกแก้วยังจำนวนน้อย) เมื่อใส่มากเข้าเรือจมต่อหน้าเด็กๆ ในการจัดกิจกรรมการทดลองดังกล่าว เป็นการจัดกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กได้ฝึกปฏิบัติด้วยตนเอง จากกิจกรรมทำให้เด็กสังเกตขณะที่เรือลอยและเรือจม รู้จักการจำแนกหนัก เบา และสื่อสารบอกได้ว่าเรือจมเพราะมีลูกแก้วเยอะ เด็กได้คิดและหาคำตอบในการทดลองโดยเด็กเป็นผู้ปฏิบัติเองจากสื่ออุปกรณ์ที่ครูจัดเตรียมไว้ในแต่ละกิจกรรม เด็กได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรงโดยใช้ประสาทสัมผัสเข้าไปสังเกตสื่อและอุปกรณ์ต่างๆ

      ดังนั้น  การจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทานจึงเป็นรูปแบบหนึ่งในการจัดกิจกรรม              การเรียนการสอนที่สามารถส่งเสริมและพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยได้ ซึ่งผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าเด็กปฐมวัยเกิดทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ จากการสังเกตขณะเด็กเข้าร่วมกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทานและทำแบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ในแต่ละครั้งเด็กได้นำทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มาใช้อย่างต่อเนื่อง ทั้งทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนก และทักษะการสื่อสาร จึงส่งผลให้เด็กได้รับการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์เป็นทักษะพื้นฐานที่สำคัญในการส่งเสริมพัฒนาการของเด็กทุกด้านได้เป็นอย่างดีจึงมีความจำเป็นที่จะต้องได้รับการส่งเสริมตั้งแต่ในระดับปฐมวัยโดยการจัดกิจกรรมที่เหมาะสมสอดคล้องกับพัฒนาการของเด็กเพื่อสนองการเรียนรู้ของเด็กให้เต็มศักยภาพและประสบผลสำเร็จได้เป็นอย่างดี






วันศุกร์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2556



30 กันยายน 2556

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

EAED  3207  เวลา 14.10-17.30 น.


         อาจารย์ให้นักศึกษานำเสนอการทดลองวิทยาศาสตร์ ซึ่งการทดลองของดิฉัน คืือ ผ้าเปลี่ยนสี

การทดลองผ้าเปลี่ยนสี  มีอุปกรณ์และวิธีการทดลองดังนี้ค่ะ

อุปกรณ์

1. ผ้าสีขาว

2. ผงขมิ้น                                                           
                                                            

3. น้ำยางล้างเล็บ

4. แอมโมเนีย

5. ขวดสเปรย์

6. ถ้วย/ช้อน








ขั้นตอนวิธีการทดลอง

1. ถามเด็กๆว่า เด็กๆคะ   เด็กๆเห็นอุปกรณ์อะไรบนโต๊ะคุณครูบ้างคะ ให้เด็กตอบพร้อมทั้งหยิบอุปกรณ์ที่เด็กตอบไปวางทางด้านซ้ายมือของเด็กไปเรื่อยๆจนบอกอุปกรณ์ครบหมดทุกอัน
2. แล้วเด็กๆคิดว่าเด็กๆจะนำอุปกรณ์นี้มาทำอะไรได้บ้างคะ  เด็กๆตอบ
3. เมื่อเด็กๆตอบแล้ว หลังจากนั้น คุณครูจะพุดกับเด็กๆว่า  เดี๋ยวคุณครูจะนำอุปกรณ์นี้ทำการทดลองสนุกๆให้เด็กๆดูนะคะ
4.  คุณครูจะตักผงขมิ้นลงไปในถ้วย 1 ช้อนชา (ขอตัวแทนเด็กๆมาช่วยคุณครูหน่อยค่ะ)






                    5. ถามเด็กๆว่า ถ้าคุณครูนำน้ำยางเล็บเทลงไปในถ้วยที่มีผงขมิ้นอยู่ เด็กๆคิดว่าจะเกิดอะไรขึ้นคะ ให้เด็กๆตอบ  หลังจากนั้นเทน้ำยาล้างเล็บลงไปในถ้วยที่มีผงขมิ้นอยู่สังเกตการเปลี่ยนแปลง



6. คุณครูจะนำผ้าสีขาวลงไปย้อมกับน้ำผงขมิ้นที่ได้ผสมเอาไว้แล้ว 




7. นำผ้าที่ย้อมสีเสร็จแล้วนำไปซักแล้วตากแดดให้แห้ง 







          8. นำแอมโมเนียเทลงในขวดสเปรย์ที่เตรียมไว้ หลังจากนั้นคุณครูจะนำขวดสเปรย์ที่ใส่แอมโมเนียไว้ ไปฉีดลงบนผ้าสีเหลือง เด็กๆสังเกตไปพร้อมๆกับคณุครูนะคะว่าจะเกิดอะไรขึ้น



                เด็กๆตอบ ว่าเป็นสีแดง แล้วถามเด็กๆว่าทำไมผ้าถึงเป็นสีแดงคะ ให้เด็กตอบ  แล้วถ้าเิกิดคุณครูลองสบัดผ้าไปมา เด็กๆคิดว่าจะเกิดอะไรขึ้นคะ เด็กๆสังเกตไปพร้อมกับคุณครูนะคะ



ถามเด็กๆว่า เด็กคะทำไมผ้าถึงกลับไปมีสีเหลืองเหมือนเดิม ให้เด็กๆตอบ 

หลักการและเหตุผล

    ที่เป็นแบบนี้เพราะว่า เมื่อนำผ้าสีขาวไปย้อมกับผงขมิ้นจะทำให้ผ้าเป็นสีเหลือง  หลังจากนั้นนำแอมโมเนียฉีดลงไปบนผ้าจะทำให้ผ้าเป็นสีแดงเป็นเพราะว่า แอมโมเนียไปทำปฎิกิริยากับผงขมิ้น จะทำให้ผ้าเปลี่ยนสีจากสีเหลืองกลายเป็นสีแดง แต่พอสบัดผ้าไปมาจะทำให้แอมโมเนียระเหยไปทำให้ผ้าจากสีแดงกลายเป็นสีเหลืองเหมือนเดิมค่ะ 


เพื่อนก็ได้นำเสนอการทดลองมีดังนี้ค่ะ

หยก        ทำการทดลองเรื่อง      น้ำพุในขวด
บุ๋ม          ทำการทดลองเรื่อง      มะนาวตกน้ำ
จู             ทำการทดลองเรื่อง      ทีเด็ดน้ำยาล้างจาน
ตาล        ทำการทดลองเรื่อง      น้ำอัดลมฟองฟู
บี             ทำการทดลองเรื่อง      พริกไทยหนีน้ำ
เอีย         ทำการทดลองเรื่อง      ลาวาแลมป์
อัน          ทำการทดลองเรื่อง      ไข่ลอยไข่จม 

  เมื่อทำการทดลองเสร็จแล้ว อาจารย์ก็ให้เพื่อนๆส่งงานทั้งหมด มีของเล่น ของเล่นเข้ามุม และ การทดลองที่นำเสนอค่ะ

 ข้อเสนอแนะของอาจารย์ในการทำการทดลอง

การทดลองควรมีความปลอดภัยทั้งตัวเด็กและคุณครูในการทดลอง แล้วในการทดลองควรใช่คำถามในการถามเด็กเพื่อให้เด็กเกิดกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการทดลอง เช่น การสังเกต สิ่งที่เปลี่ยนแปลงให้เด็กได้เกิดความเข้าใจในการทำการทดลอง เป็นต้น
















23 กันยายน 2556

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

EAED  3207  เวลา 14.10 - 17.30น.



    วันนี้กลุ่มของดิฉันได้เป็นตัวแทนในการสอนทำอาหาร ซึ่งมีเมนูว่า "ข้าวผัดอะไรเอ่ย" มีส่วนประกอบของข้าวผัดดังนี้

ส่วนประกอบของข้าวผัด 
    
      วัตถุดิบ 

ข้าว

ไข่ไก่

แครอท

มะเขือเทศ

ข้าวโพด

เนื้อ หมู กุ้ง ไก่ หมึก

ต้นหอม

ถั่ว

กระเทียม

        เครื่องปรุงของข้าวผัด

น้ำมัน

น้ำปลา

น้ำตาล

รสดี

ซีอิ๊วขวา

ซอสหอยนางรม

        อุปกรณ์

กระทะ

ตะหลิว

กะละมัง

ช้อน/จาน

มีด/เขียง

ขั้นตอนการทำข้าวผัด 

1. ล้างเนื้อสัตว์ ล้างผัก  เตรียมวัตถุดิบ หั่นเนื้อหมู หั่นผัก

2. ตั้งกระทะให้ร้อน ใส่น้ำมันแล้วรอให้น้ำมันร้อน

3. โขลกกระเทียมใส่กระทะ

4. พอกระเทียมเริ่มหอมแล้วนำเนื้อที่เตรียมไว้

5. ผัดให้สุก ใส่ข้าวลงไปและใส่ไข่ตามแล้วผัดให้เข้ากัน แล้วใส่ผักลงไป

6. ใส่เครื่องปรุงลงไป (ปรุงรสตามใจชอบ)

7. ตักใส่จานพร้อมรับประทาน ตกแต่งให้เรียบร้อย

         และในระหว่างการทำข้าวผัดก็มีการตั้งคำถามเพื่อให้เด็กๆได้สังเกตถึงการเปลี่ยนแปลงเช่น
     เด็กๆสังเกตดูนะคะ    ว่าเนื้อสัตว์ก่อนทำอาหารกับเนื้อสัตว์หลังทำอาหารแล้วมีอะไรที่เปลี่ยนแปลงไปบ้างเพราะอะไรคะ
     เด็กลองดูผักก่อนทำอาหารกับผักหลังทำอาหารแล้วมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรเพราะอะไรคะ
ในคำถามเหล่านี้จะเป็นคำถามให้เด็กฝึกการสังเกตลักษณะอาหารที่ก่อนทำและหลังทำอาหารได้ว่าทั้งหมดเป็นเพราะสาเหตุอะไร  วิทยาศาสตร์ไม่ใช่แค่เรื่องของการทดลองเพียงอย่างเดียวแต่วิทยาศาสตร์สามารถนำมาสอนในเรื่องของการทำอาหารได้อีกด้วย แล้วการทำอาหารมีส่วนเกี่ยวข้องอย่างไรกับวิทยาศาสตร์ ในการทำอาหารมีส่วนเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ได้ในเรื่องของ การสังเกต การคาดคะเน เป็นต้น  





วันอังคารที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2556



16 กันยายน 2556

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

EAED  3207  เวลา 14.10 - 17.30 น.


           อาจารย์ได้พูดถึงเรื่องของการส่งงานทั้งหมดว่าใครที่ยังไม่ได้ส่งงานชิ้นไหนให้นำมาส่งในวันที่ 30 กันยายน 2556 เพราะว่าวันนี้และวันที่ 23 กันยายน 2556 อาจารย์จะให้ อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน มาสอนในเรื่องของการเขียนแผนการสอนวิทยาศาสตร์ ซึ่ง อาจารย์ตฤณ ก็ได้ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มกัน 5 กลุ่ม แล้วให้ตัวแทนแต่ละกลุ่มมารับกระดาษ 3 แผ่นพร้อมทั้งสี  หลังจากนั้นอาจารย์ให้นักศึกษานำกระดาษแผ่นที่ 1 เขียน Mind Mapping   อาหารที่อยากจะทำ  ซึ่งกลุ่มของดิฉันได้นำเสนอเรื่องข้าวผัดมีดังนี้ 

ส่วนประกอบของข้าวผัด 
    
      วัตถุดิบ 

ข้าว

ไข่ไก่

แครอท

มะเขือเทศ

ข้าวโพด

เนื้อ หมู กุ้ง ไก่ หมึก

ต้นหอม

ถั่ว

กระเทียม

        เครื่องปรุงของข้าวผัด

น้ำมัน

น้ำปลา

น้ำตาล

รสดี

ซีอิ๊วขวา

ซอสหอยนางรม

        อุปกรณ์

กระทะ

ตะหลิว

กะละมัง

ช้อน/จาน

มีด/เขียง

      ประโยชน์ของข้าวผัด

ทำให้ร่างกายแข็งแรง

ได้รับสารอาหารครบ5หมู่

ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย

  
กระดาษแผ่นที่2 อาจารย์ให้เขียนขั้นตอนวิธีการทำข้าวผัด

1. ล้างเนื้อสัตว์ ล้างผัก  เตรียมวัตถุดิบ หั่นเนื้อหมู หั่นผัก

2. ตั้งกระทะให้ร้อน ใส่น้ำมันแล้วรอให้น้ำมันร้อน

3. โขลกกระเทียมใส่กระทะ

4. พอกระเทียมเริ่มหอมแล้วนำเนื้อที่เตรียมไว้

5. ผัดให้สุก ใส่ข้าวลงไปและใส่ไข่ตามแล้วผัดให้เข้ากัน แล้วใส่ผักลงไป

6. ใส่เครื่องปรุงลงไป (ปรุงรสตามใจชอบ)

7. ตักใส่จานพร้อมรับประทาน ตกแต่งให้เรียบร้อย

กระดาษแผ่นที่ 3 อาจารย์ให้เขียนแผนการสอนการทำข้าวผัด

ซึ่งกลุ่มเพื่อนๆได้ทำอาหารดังนี้

นุ่น        แซนวิสไข่

หยก      วุ้นมะพร้าว

แอม      แกงจืดหมูสับ

อีฟ        ไข่ตุ๋น  


             และในการลงมติของเพื่อนๆให้กลุ่มของดิฉันเป็นคนสอนทำข้าวผัดในสัปดาห์ หน้าพร้อมทั้งเตรียมอุปกรณ์ เตรียมวัตถุดิบต่างๆในการทำข้าวผัดค่ะ








9 กันยายน 2556

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

EAED  3207  เวลา 14.10 - 17.30 น.


           อาจารย์ไปราชการต่างจังหวัดค่ะ แต่ได้มอบหมายงานไว้ ใครที่ยังไม่ส่งงานชิ้นใดให้นำมาส่งในสัปดาห์หน้าค่ะ


8 กันยายน 2556

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

EAED  3207  เวลา  14.10 - 17.30น.



                   อาจารย์ให้นักศึกษาส่งสื่อเข้ามุม ซึ่งกลุ่มดิฉัน มำเรื่องของ กล้องแว่นขยายผสมสี


อุปกรณ์

กล่องกระดาษ 1ใบ 

กรรไกร

กาว

สก็อตเทป

ฟิวเจอร์บอร์ด

กระดาษแก้ว สี แดง เหลือง น้ำเงิน

กระดาษห่อของขวัญ

แว่นขยาย




ขั้นตอนการทำ

1. เจาะรูกล่อง 1ด้านให้แว่นขยายสามารถเลื่อนได้ในระดับใกล้และไกล
2. นำกระดาษห่อของขวัญมาห่อกล่องที่เจาะรูเตรียมไว้ในตอนแรกแล้วนำคัตเตอร์เจาะตามรูที่ให้ไว้
3. นำแว่นขยายใส่เข้าไปแล้ววัดขนาดแว่นขยายแล้วเจาะรู เจาะรูเป็นวงกลมทั้ง2ข้าง หัว-ท้าย
4. เจาะรูฟิวเจอร์บอร์ดเป็นวงกลมตามขนาดของช่องที่ส่อง
5. ตัดกระดาษแก้วทั้ง 3 สี เป็นวงกลมขนาดใหญ่กว่าฟิวเจอร์บอร์ดที่เตรียมไว้ แล้วนำไปติดกับกรอบที่เตรียมให้
6. ทดลองนำกล่องขยับเข้าออก

วิธีการเล่น

     นำแว่นขยายใส่ลงไปในกล่องพร้อมทั้งนำสีต่างๆมาใส่ลงในช่องที่เตรียมไว้แล้วเลื่อนแว่นขยายเข้า-ออก สังเกตการเปลี่ยนแปลง  หรือ จะนำแผ่นรูปภาพที่ได้วาดไว้มาส่องดู โดยนำแว่นขยายส่องผ่านทางช่องของกล่องกระดาษที่ได้ตัดไว้ หลังจากนั้นสังเกตรูปภาพในขณะที่ เลื่อนแว่นขยายเข้า - ออก  

หลักการในการทำกล่องแว่นขยายผสมสี

      ทำไมถึงมองเห็นวัตถุที่มีขนาดใหญ่ขึ้นเมื่อนำแว่นขยายมาส่อง  ที่เป็นแบบนี้เพราะว่า แว่นขยายทำจากเลนส์นูนที่มีความหนามาก  เมื่อแสงเกิดการหักเหจะทำให้วัตถุที่เราส่องจะมีขนาดใหญ่ขึ้นและแสงจะหักเหได้มองเห็นได้เมื่ออยู่ในอากาศ